KM วิชาการ: การจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน 2562

เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คณะกรรมการจัดการความรู้

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ปีการศึกษา 2562

บทสรุปผู้บริหาร

     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค Covid 19 และคณะกรรมการการได้นำกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มาจัดการความรู้ค้นหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างไร   ที่จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ในคณะฯทุกคน ได้ข้อสรุปดังนี้

  1. รูปแบบการสอนออนไลน์ที่อาจารย์ในสาขาวิชาใช้ เหตุผลในการเลือกใช้

รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่คณะฯเป็นรูปแบบที่การผสมผสานหลายรูปแบบขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา และหัวอข้อเรื่องในการการจัดการเรียนการสอน ซึ่งระบบที่คณะเลือกใช้มากที่สุด

ช่วงแรก ได้แก่ Zoom meeting, Facebook โดยการสตรีมมิ่งผ่าน OBS studio streaming, Google classroom, โปรแกรม Loom, โปรแกรม Quizz   เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงง่าย สามารถแชร์ไฟล์งาน ไฟล์เอกสารประกอบการสอน แชร์คลิปวีดิโอในการจัดการเรียนการสอนต่างๆ ให้ทุกคนดาวน์โหลดได้ พร้อมมีรวมรวบไฟล์งานที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระเบียบ มีระบบการแจ้งเตือนก่อนหมดเวลาส่งงานอย่างชัดเจน 

ช่วงหลัง มีการใช้ Microsoft team เพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบมีความเสถียร และเป็นรูปแบบที่มหาวิทยาลัยจัดซื้อ มีการอบรมให้อาจารย์ทั้งคณะฯได้มีทักษะการใช้โปรแกรม และใช้ Google classroom, Google Meet ในการสอนนักศึกษามากขึ้นเนื่องจากเป็นระบบที่ใช้ได้ง่าย ระบบที่อาจารย์ใช้น้อยลง คือโปรแกรม Zoom เนื่องจากมีการจำกัดเวลา และระบบไม่เสถียร ส่วนโปรแกรม Loom น้อยลง เพราะการเรียนการสอนที่ใช้ระบบนี้ เป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่เป็น Face to Face ไม่สามารถกำกับและติดตามผู้เรียนในการเข้าเรียนได้อย่างแท้จริง

  • การวางแผนการเตรียมการสอนออนไลน์ การออกแบบวิธีการสอนและกลยุทธ์การสอน

อาจารย์ในคณะฯได้มีการเตรียมการสอนออนไลน์ทันทีที่เกิดภาวะการระบาด ได้สั่งนักศึกษากลับบ้านทุกคน และดำเนินการประชุมอาจารย์เป็นการด่วนเพื่อออกแบบการสอน กลยุทธ์การสอน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะเตรียม

  • อาจารย์เตรียมความรู้เกี่ยวกับรูปแบบออนไลน์ที่จะใช้สอน วิธีการใช้ เลือกให้เหมาะสมกับความสามารถของตนเองในการใช้ IT
  • เตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนแบบออนไลน์โดยแจ้งข้อมูลให้นักศึกษาได้ทราบ นัดหมายเวลากับนักศึกษา ในกลุ่ม Line, Facebook กลุ่มปิด , กิจกรรมในชั่วโมงการเรียนการสอนนั้นและการประเมินผล
  • เตรียมเนื้อหาการสอนในรูปแบบ PowerPoint, pdf, วีดีโอ
  • เตรียมแบบฝึกหัดภายหลังการเรียน
  • เตรียมข้อสอบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในรายวิชา ที่เป็นลักษณะการนำไปใช้ และสามารถใช้สอบในรูปแบบข้อสอบออนไลน์ Google form

ขณะสอน

  • เริ่มสอนตามเวลา ให้นักศึกษารายงานตัว บอกรหัสเพื่อเป็นการเช็คชื่อ
  • สอนตามเวลา ไม่ยาวมากเป็นการสิ้นเปลืองอินเตอร์เน็ตนักศึกษา
  • ติดตามการสอนออนไลน์โดยใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นช่วยโดยเลือกช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น Line chat เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้สอนได้ตลอดเวลา
  • ใช้การตั้งคำถามแทนการบรรยายอาจมีเกมส์ หรือ วิดิโอ แทรกเพื่อส่งเสริมการทำความเข้าใจ
  • สอนผ่านโปรแกรม Facebook live (นำเสนอผ่านโปรแกรม OBS+ScreenStream) เป็นการสอนแบบ real time และนำเสนอขึ้นหน้าจอเพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนมีการ Reflection ต่อกันตลอดเวลา เป็นการเรียนผ่านออนไลน์แบบ Active learning ผู้สอนจะมีการกระตุ้นพูดคุยถามตอบขณะสอนตลอดเวลา มีเพลงให้กำลังใจ
  • ขณะสอนจะทำการบันทึกไฟล์การสอนเผื่อมีนักศึกษาต้องการทบทวนซ้ำ
  • ขณะสอนจะมีการซักถาม หรือตั้งข้อคำถามชวนตอบ และมีการให้คะแนน
  • ให้รางวัลชมเชยทุกครั้งที่นักศึกษามีวินัยในการเรียน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียน

ระยะประเมินผล

  • สอบในรูปแบบข้อสอบออนไลน์ Google form
  • แจ้งเวลาในการสอบวัดและประเมินผลที่ชัดเจน ระบบที่ใช้ในการสอบ การเตรียมความพร้อมอินเตอร์เน็ต
  • การทำข้อสอบเพื่อทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนตลอดการสอน
  • มีระบบการทดสอบ Online ให้นักศึกษาทบทวนอยู่เสมอ
  • การประเมินผลการเรียนในลักษณะการมอบหมายงานล่วงหน้าและจากการทดสอบย่อยในระบบการสอบออนไลน์
  • ติดตามการสอนออนไลน์โดยใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นช่วยโดยเลือกช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น Line chat เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้สอนได้ตลอดเวลา ทั้งก่อนชม.เรียน ขณะเรียนแบบสอนสดและหลังชม.เรียน

  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ (การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์, การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน )

การเรียนการสอนออนไลน์ ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการ

เรียนที่มีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา อาจารย์ในคณะฯได้จัดเตรียมสภาพแลดล้อม และวางแผนการจัดการเรียนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากที่สุด โดยมีกระบวนกรดังนี้

  • เตรียมสภาพแวดล้อม ห้องทำงาน พื้นหลังให้สะอาดและเหมาะกับการเรียนการสอนเสมือนการสอนในห้องเรียน ไม่มีเสียง หรือบุคคลเดินผ่านและรบกวน
  • กำหนดระเบียบและทำข้อตกลงในการเรียนกับนักศึกษา
  • ชี้แจงแนวทางการจัดการเรียนการสอน การมอบหมายงานการเรียน กำหนดการส่งงานอย่างชัดเจน
  • จัดรูปแบบการเรียนที่ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นผ่าน Quizizz. Kahoot
  • ใช้คำถามนำเข้าเรื่องที่กำลังจะเรียน เพื่อให้เกิดบรรยากาศการมีส่วนร่วม
  • การแนะนำและช่วยเหลือผู้เรียน (การให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน, การส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียน)

การจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ ย่อมมีปัญหาและอุปสรรค คณะได้มีการแนะนำและ

ช่วยเหลือผู้เรียนดังนี้

   การให้คำแนะนำ

  • ให้คำแนะนำสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการเฉพาะ
  • บ่งชี้วิธีการในการแนะนำแหล่งการเรียนรู้หรือหน่วยบริการทางการเรียนที่เหมาะสมทั้งในและนอกสถาบัน
  • จัดการเรียนการสอนในฐานะผู้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้
  • ให้คำแนะนำการใช้ระบบจัดการการเรียนรู้
  • ให้คำแนะนำการเรียนแต่ละหัวข้อการอภิปรายอย่างชัดเจน

   การส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียน

  • สนับสนุนผู้เรียนในการพัฒนาการวางแผนการเรียนรายบุคคล การกำหนด เป้าหมายการพัฒนากลยุทธ์ทางการเรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  • ติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนที่ไม่ติดตามการเรียนอย่างต่อเนื่อง
  • ให้ผลป้อนกลับที่ละเอียดชัดเจน
  • ให้ผลป้อนกลับทันที
  • แจ้งคะแนนหรือผลการประเมินให้ผู้เรียนทราบ เพื่อช่วยผู้เรียนประเมินและกำกับตนเองในการเรียน
  • สร้าง แก้ไข ข้อคำถาม และมีการตอบคำถามที่เกิดขึ้นในระหว่างการบรรยาย
  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่ดีในระหว่างการเรียนในชั้นเรียน
  • เสนอแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อผู้เรียนเผชิญปัญหาต่าง ๆ
  • กระตุ้นหรือสนับสนุนผู้เรียนอย่างมีเป้าหมาย โดยการช่วยให้ผู้เรียนสังเกต และควบคุมการทำความเข้าใจในบทเรียนด้วยตนเอง
  • ติดตามและทราบความก้าวหน้าของผู้เรียน เพื่อให้การสนับสนุนที่เหมาะสมทั้งผู้เรียนที่ก้าวหน้าเร็วและผู้เรียนที่เริ่มได้ช้า โดยมีการติดตามการเรียนทั้งภาพรวมคือยอดคนเรียนครบหัวข้อและรายบุคคล สามารถบอกรายละเอียดหัวข้อที่ขาดเรียนได้

5. การวัดและประเมินผล (ประสิทธิภาพการสอน, การมีส่วนร่วมของนักศึกษา)

    การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างไกลกัน การวัดและประเมินผลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องประเมินได้ว่าผู้เรียนและผู้สอนมีความเข้าใจตรงกัน และการเรียนการสอนดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา ผู้เรียนมีความพึงพอใจหรือไม่ จากประสบการณ์ในการสอนของอาจารย์ทุกท่าน อาจารย์ได้เลือกใช้การประเมินดังนี้

  • ใช้การถามตอบเพื่อให้ทราบว่ามีความเข้าใจตามวัตถุประสงค์หรือไม่
  • มีการทดสอบเก็บคะแนนหลังการเรียนการสอนผ่านออนไลน์
  • ให้นักศึกษาประเมินความพึงพอใจผ่านแบบสอบถาม
  • การสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนระหว่างเรียนแบบ face to face และเมื่อสิ้นสุดการเรียนในแต่ละครั้ง
  • การให้ทำแบบประเมินผลการสอนออนไลน์
  • มีแบบประเมินความพึงพอใจนักศึกษา
  • ใช้แบบทดสอบผ่านระบบ QUIZIZZ ประเมินความรู้ และประเมินความพึงพอใจใน google form

6.ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และแนวทางแก้ไข

        จากการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า จึงทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อาจารย์ในสาขาวิชาพบปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งได้มีแนวทางแก้ไขดังนี้

  • อินเตอร์เน็ตนักศึกษาไม่เสถียร ในกรณีการสอบเก็บคะแนนจะส่ง Code และรายละเอียดให้นักศึกษาเป็นรายบุคคลให้นักศึกษาเข้ารับการสอบใหม่
  • นักศึกษาบางรายที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล อาจมีปัญหาต่อการใช้งานของอินเตอร์เน็ต วิธีแก้ไขคือ โหลดไฟล์การสอนไว้ในเฟสบุคกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาเข้ามารับชมการสอนได้เสมอ
  • นักศึกษาใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ในโปรแกรมไม่เป็น เช่นการแชร์วิดีโอ แก้ไขโดยการให้คำแนะนำทั้งการพูดอธิบายและพิมพ์ข้อความบนหน้าจอ
  • การเข้ากลุ่มออนไลน์ของนักศึกษาแต่ละคนไม่พร้อมกัน แก้ปัญหาโดยแจ้งเวลาให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า พร้อมส่งลิงค์และเตือนก่อนเวลาเรียน 30 นาทีทางไลน์

7. ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการสอนออนไลน์

อาจารย์ในสาขา มีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้สำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ทัศนคติของผู้สอนและผู้เรียนต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่เปิดใจ ยอมรับและคิดอย่างสร้างสรรค์
  • ทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สอนผู้เรียน
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (smart devices)
  • ระบบเครือข่ายการสื่อสาร (network) ที่ดีของทั้งผู้สอนและผู้เรียน
  • การเตรียมความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียนล่วงหน้า
  • การจัดตารางสอนและตารางสอบของแต่ละวิชาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • การให้ข้อมูลแก่นักศึกษาที่ชัดเจนและถูกต้อง
  • ความช่วยเหลือ การให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการจัดการสอนออนไลน์จากศูนย์สารสนเทศของมหาวิทยาลัย
  • ความน่าสนใจของสื่อ การกระตุ้นถามตอบข้อสงสัยโดยตรง เพื่อกระตุ้นการคิดและให้นักศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • สิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สอนและผู้เรียน
  • ความใส่ใจของทั้งอาจารย์นักศึกษาในการติดตามความก้าวหน้าของงานที่มอบหมาย

8. จุดแข็งและจุดอ่อนของการสอนออนไลน์

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ จากการร่วมแสดงความคิดเห็นของอาจารย์พบ จุดอ่อนและจุดแข็งดังนี้

จุดแข็ง

  • ยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ เวลา และวิธีการเรียนการสอน
  • ผู้สอนและผู้เรียนไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ในการเรียน
  •  มีการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว แม้มีปัจจัยอื่นแทรกแทรก เช่น มาไม่ได้ติดธุระสำคัญ ป่วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถติดตาม และอัฟเดทการเรียนการสอนได้รวดเร็ว เข้าถึงได้ทุกคน ประหยัดเวลา และลดโลกร้อนลดกระดาษในการใช้เรียน
  • เราสามารถสอนนักศึกษาในที่ใดเวลาใดก็ได้ที่มีช่องทางการสื่อสารที่มีคุณภาพ และ เสถียรพอ
  • การเรียนแบบ face to face ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างทั่วถึงและเพิ่มมากขึ้นกว่าการเรียนแบบปกติ
  • ผู้เรียนมีโอกาสในการแสดงออกอย่างเป็นอิสระมากขึ้น สร้างสรรค์และสื่อสารได้ตรงกับความคิดความต้องการมากขึ้น มีการริเริ่มทำสิ่งใหม่มากกว่าเมื่ออยู่ในห้องเรียน ทั้งการเปิดประเด็นพูดคุยหรือโต้ตอบในเรื่องที่ผู้อื่นเสนอความคิดเห็น
  • ในห้องเรียนที่ผู้เรียนรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัย บทบาทของผู้สอนจะลดลง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการแสดงความคิดเห็นและการเรียนรู้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการเรียนแบบปกติ
  • ทำให้นักศึกษามีวินัยในการเรียนมากขึ้น รับผิดชอบต่อตนเอง ฝึกความซื่อสัตย์ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ข้อจำกัด

  • ทักษะของผู้สอนในการใช้โปรแกรมต่างๆ เทคนิคขั้นพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะต้องเข้ารับการอบรมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้มีความคุ้นเคยกับฟังก์ชั่นต่างๆ ในโปรแกรมที่ต้องการใช้ก่อน
  • ทักษะของผู้เรียนในการเข้าถึงการเรียนโดยการใช้โปรแกรมแต่ละชนิดที่ผู้สอนปรับเปลี่ยนไปในแต่ละครั้งอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเครียดจากการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปและไม่คุ้นเคย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้อีกด้วย
  •  หากสัญญาณไม่ดี อาจจัดกาารเรียน การสอนไม่ได้ตามที่วางแผนไว้
  • ไม่มีบรรยากาศร่วมในการเรียนการสอน
  • ถ้าครูใช้แอพแตกต่างกันมาก ๆ นักศึกษาที่ใช้เรียนจากโทรศัพท์จะไม่สะดวก อาจไม่สามารถติดตั้งแอพฯได้ทุกอัน
  • ไม่สะดวกในการมอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม
  • ขาดการมีปฏิสัมพันธ์ ขาดการทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียน ในวิชาทางด้านทักษะอาจไม่สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในรายวิชาอย่างแท้จริง

การประเมินผลจากนักศึกษาต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงการระบาดของโรค Covid 19

  1. นักศึกษาพึงพอใจรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยระบบใดที่ส่งผลประสิทธิภาพการเรียนมากที่สุด

  • 2. เหตุผลที่ชอบระบบออนไลน์ใน ข้อ 1

  • 3. อาจารย์จัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม

  • 4. อาจารย์ให้คำแนะนำช่วยเหลือนักศึกษา เมื่อมีปัญหาในการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม

  • 5. อาจารย์มีการสอบประเมินความรู้ เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ

  • 6. นักศึกษาได้เรียนรู้บทเรียนครบตาม มคอ. 3 และสอดคล้องกับผลลัพธืการเรียนรู้ ทุกรายวิชา

       7. อาจารย์มีการกำกับ ติดตามการเข้าเรียนอย่างต่อเนื่อง

  • 8. การเรียนการสอนในระบบออนไลน์ส่งเสริมการมีวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ การกระตือรือล้นในการเรียน

  • 9. การเรียนการสอนในระบบออนไลน์ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ สามารถสืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย คิดอย่างมีระบบ

  • 10. การเรียนการสอนในระบบออนไลน์ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถทำงานเป็นทีมได้

11. การเรียนการสอนในระบบออนไลน์ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถใช้สื่อสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

12.ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการเรียนการสอนออนไลน์

     คณะฯ ควรเลือกใช้ระบบการเรียนการสอนระบบเดียวกันทุกรายวิชา และมีตารางกำหนดเวลาเรียนที่ชัดเจน และจัดให้มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีความเสถียร

ถอดบทเรียนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ และวิชาชีพการพยาบาล

“แนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับนักศึกษาพยาบาล”

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ความรู้ใหม่ที่ได้จากการจัดการความรู้

          รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ มีหลายรูปแบบ ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและมีการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค Covid 19  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ในหลายรูปแบบ โดยผ่าน โปรแกรม Microsoft Team, Zoom, OBS, Facebook Live สด เป็นต้น จากการสอนออนไลน์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มอาจารย์พื้นฐานวิชาชีพ และวิชาชีพทางการพยาบาล ภายใต้ประเด็นปัญหา “ทำอย่างไรให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักศึกษาพยาบาลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” เพื่อจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และบรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน  คณะกรรมการจัดการความรู้ได้ถอดบทเรียนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า การเรียนการสอนออนไลน์จะประสบความสำเร็จ ผู้สอนต้องมี บทบาทตามองค์ประกอบดังนี้

  1. ศาสตร์การสอน ความรู้ความชำนาญในเนื้อหาที่สอน จะต้องวางแผนการสอน   การออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ (Instructional Design) ออกแบบประมวลรายวิชาออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและชัดเจน โดยชี้แจง กิจกรรมในรายวิชา ความรับผิดชอบและหน้าที่คาดหวังของผู้เรียน เกณฑ์การประเมินผล  จัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและแจ้งให้ผู้เรียนทราบในการสอนทุกครั้ง
  2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์  การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ และ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ชี้แจงแนวทางการจัดการเรียนการสอน การมอบหมายงานการเรียน กำหนดการส่งงานอย่างชัดเจน เลือกใช้แหล่งการเรียนรู้ ตัวอย่าง เครื่องมือ และกลยุทธ์ที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียนทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ และประสบการณ์ สร้างแรงจูงใจในการเรียนออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
  3. การแนะนำและการช่วยเหลือผู้เรียน  ให้คำแนะนำการเรียนแต่ละหัวข้อการอภิปรายอย่างชัดเจน

เสนอแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อผู้เรียนเผชิญปัญหาต่าง ๆ

  • การประเมินผล ครอบคลุม 3 กระบวนการ ได้แก่ (1) การบ่งชี้กระบวนการประเมินผล ผู้เรียนซึ่งจะต้องออกแบบการประเมิน ด้วยวิธีการอ่าน การเขียน การคำนวณ ที่สะท้อนความ สามารถทางการคิดระดับสูง ประกอบด้วย ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การประเมินผลที่หลากหลายในการสะท้อนความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนและการประเมินตนเอง เช่น การประเมินด้วยการเขียนตอบ บทความ การนำเสนอด้วยมัลติมีเดีย แฟ้มสะสมงาน กำหนดเกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน ใช้เครื่องมือวัดที่เป็นกลาง ยุติธรรมและมีความเท่าเทียม  (2) การประเมินประสิทธิภาพการสอน โดยการประเมินกลยุทธ์การเรียนการสอน (3) การประเมินการมีส่วนร่วมการเรียน โดยอาจประเมินจากการสนทนา ความก้าวหน้าของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
  • ความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ผู้สอนออนไลน์ จะต้องมีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นพื้นฐาน สามารถใช้โปรแกรมการนำเสนอ โปรแกรมการพิมพ์งานต่าง ๆ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเทอร์เน็ต มีทักษะด้านการเขียนเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการใช้ระบบจัดการเรียนรู้และเครื่องมือออนไลน์