คณะพยาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตพยาบาล เพื่อให้การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีคุณภาพ ทางคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ วิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจดังกล่าว คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ทั้งในระดับสาขาวิชาและระดับคณะ ทั้งนี้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานประกันคุณภาพ ที่ได้กำหนดให้มีการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัย (ตัวบ่งชี้ที่ 7.2) และมาตรฐานในด้านการจัดระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (ตัวบ่งชี้ที่ 2.6)
การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อสร้างบัณฑิตพยาบาล ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพออกไปปฏิบัติภารกิจในการบริการสุขภาพอนามัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและจัดลำดับความสำคัญได้ ซึ่งเป็นการผสมผสานประมวลความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มีความสัมพันธ์กันและสามารถประยุกต์ได้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิชาการที่มีลักษณะเป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้มากขึ้น นักศึกษาต้องปรับตัวในด้านการเรียนรู้ ที่ต้องศึกษาค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาความคิดให้ทันสมัยและแข่งขันกับผู้อื่นได้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้นักศึกษาในการคิดสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในวิชาชีพต่อไป คณะพยาบาลศาสตร์จึงมุ่งเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยวิธีการสอนที่หลากหลาย แต่จากการประเมินคะแนนผลการสอบครั้งที่ 1 พบว่า ผลการเรียนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ประกอบกับคุณสมบัติของนักศึกษาในปัจจุบันทุกด้านเป็นปัญหาที่ต้องร่วมแก้ไข ดังนั้น รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจึงได้จัดให้มีโครงการการจัดการความรู้ในกระบวนการจัดการเรียนสอน ซึ่งคณะฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงเห็นควรจัดโครงการนี้ให้แก่นักศึกษาพยาบาลเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการเป็นนักศึกษาและส่งเสริมการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตามอัตลักษณ์
การดำเนินงาน ดังนี้
1.1 เนื่องจากในปีการศึกษานี้ จะพบกับวิกฤติการระบาดของโรคโควิด 2019 จึงทำให้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ และในปีที่ผ่านมา ในการระบาดระลอกที่ 1 คณะได้เพิ่งเริ่มรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งแรก จึงได้มีการจัดการเรียนรู้ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีพอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด ส่วนปีนี้มีการระบาดใหม่ทั้งระลอกที่ 2 และ 3 การเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นช่วงเวลาในการขึ้นฝึกปฎิบัติ จึงได้มีการประชุมวางแผน กำหนดประเด็นการจัดการความรู้เรื่อง “การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ”
1.2 จัดการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้ Link เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
1.3 จัดทำข้อคำถามในการแลกเปลี่ยน เพื่อค้นหารูปแบบในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ปฏิบัติ
1.4 ส่ง Link ให้อาจารย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.5 สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.6 เผยแพร่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บน Website ของคณะ
2. ขั้นดำเนินการ (D) มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 สร้างข้อคำถามเปิดประเด็นให้อาจารย์ผู้มีประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่าน Link https://forms.gle/KqVcWyWxrQopXjaDA
2.2 แชร์ Link ให้อาจารย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างอิสระ
2.3 สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ให้อาจารย์ในคณะ รับทราบและนำไปปฎิบัติ
2.4 เผยแพร่บน Web site ของคณะ
3. ขั้นประเมินผล (C) มีการดำเนินการ ดังนี้
3.1 ประเมินผลการความพึงพอใจจากการจัดการเรียนการสอนในการสอนออนไลน์ภาคปฏิบัติ
3.2 สรุปผลการประเมิน
4. ขั้นปรับปรุง (A)
หลังจากที่ได้สรุปผลประเมินต่างๆ แล้ว นำผลการการประเมินไปชี้แจงในที่ประชุมรายวิชาชีพต่อไป
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในคณะฯ เพื่อนำไปใช้ในปีต่อไปหากมีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่